วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษา  MBNQA  สรุปได้ว่า  MBNQA  คือ  รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคอล์มบอลคริจ (Malcolm  Baldrige  National  Quality  Award : MBNQP)  เป็นรางวัลแห่งชาติที่นำแนวคิดของการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (Total Quality Management : TQM)  มาใช้เพื่อประเมินองค์การต่าง ๆ  และมอบรางวัล  ซึ่งเป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติในลักษณะเกี่ยวกับรางวัลเดมมิ่งของประเทศญี่ปุ่น                                                                                                                  ก่อตั้งโดยสภา  Congress ในปี 1987 โดยตั้งชื่อรางวัลเพื่อเป็นเกียรติให้กับเลขาธิการกระทรวงพาณิชย์  Mr. Malcolm Baldrige  ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการจัดการที่มีคุณภาพว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความแข็งแกร่งที่ยั่งยืน                                                                                                                                                             ดูแลควบคุมโดย The U.S. Commerce Department’s National Institute of Standards and Technology (NIST)  โดยรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตราเป็นกฎหมาย เมื่อวันที่  20  สิงหาคม  ..1987  เพื่อมอบให้แก่องค์การที่ประสบความสำเร็จดียิ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ในแต่ละปี (สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2545 : 13)  โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม  ยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการ  อันนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและเพื่อผลต่อองค์การในที่สุด  บทบาทที่สำคัญของ MBNQA  มีอยู่  3  ประการคือ                                                1.  ช่วยปรับปรุงวิธีการดำเนินการความสามารถและผลการดำเนินการให้เป็นที่ยอมรับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมที่แท้จริง                                                                                                                                           2.  กระตุ้นให้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศระหว่างองค์การ    ต่าง ๆ                                                                                                                                                                                                                                 3.  เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการผลการดำเนินการขององค์การ  รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้
จุดประสงค์
1.  เพื่อยกย่องบริษัทในสหรัฐอเมริกา  สำหรับความสำเร็จในด้านคุณภาพและการดำเนินการทางธุรกิจ                       2.  เพื่อเพิ่มความตื่นตัวเกี่ยวกับความสำคัญของคุณภาพและการดำเนินการที่ดีเลิศ  ให้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
ประเภทของรางวัล
1.  การผลิต (Manufacturing)                                                                                                                                                          2.  การบริการ (Service)                                                                                                                                                                                 3.  ธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business)                                                                                                                                                4.  การฝึกฝนอบรม (Education)                                                                                                                                                    5.  การดูแลด้านสุขภาพ (Health Care)
ประเด็นสำคัญในการพิจารณาเกณฑ์ความเป็นเลิศ  7 ด้าน
สำหรับประเด็นสำคัญในการพิจารณาเกณฑ์ความเป็นเลิศหรือองค์ประกอบหลักในการตรวจสอบความเป็นเลิศในการดำเนินงานด้านการศึกษา  ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย  7  ด้าน  ดังนี้                                                                  1.  ภาวะผู้นำ (Leadership)                                                                                                                                                              2.  การวางแผนกลยุทธ์  (Strategic  Planning)                                                                                                                              3.  การให้ความสำคัญกับลูกค้าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตลาด (Student, Stakeholder and  Market  Focus)                  4.  สารสนเทศและการวิเคราะห์ (Information  and  Analysis)                                                                                              5.  การให้ความสำคัญแก่บุคคลและหน่วยงานย่อย (Faculty  and  Staff  Focus)                                                               6.  การบริหารกระบวนการ (Process  Management)                                                                                                 7.  ผลการดำเนินงาน (Organizational  Performance  Result)
เป้าหมายของ MBNQA                                                                                                                                                                    รางวัล  MBNQA  นี้จะช่วยให้มีการปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตโดย                                                                                         1.  ช่วยกระตุ้นบริษัทอเมริกันให้ปรับปรุงคุณภาพและผลผลิตเพื่อความภาคภูมิใจที่สามารถก้าวมาข้างหน้าได้และได้กำไรเพิ่มขึ้น                                                                                                                                                                                  2.  เป็นการรับรู้วามสำเร็จของบริษัทที่สามารถปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตและบริการ  และเป็นตัวอย่างให้กับผู้อื่น                                                                                                                                                                                                       3.  วางแนวทางและหลักเกณฑ์ซึ่งสามารถใช้ได้กับธุรกิจ  อุตสาหกรรม  รัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ  ในการประเมินความพยายามในการปรับปรุงคุณภาพของตน                                                                                                                        4.  ให้แนวทางที่ชัดเจนสำหรับองค์กรอเมริกันอื่น ๆ  ซึ่งต้องการเรียนรู้วิธีการบริหารไปสู่คุณภาพ  โดยการเผยแพร่ข้อมูลโดยละเอียดว่าองค์กรที่ได้รับรางวัลนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและบรรลุ eminence ได้อย่างไร
ประโยชน์ต่อส่วนราชการ
             ส่วนราชการที่นำเกณฑ์คุณภาพการบิหารจัดการภาครัฐ  ซึ่งเป็นกรอบการประเมินระดับมาตรฐานสากลไปเปรียบเทียบกับระบบการบริหารจัดการของส่วนราชการ  จะได้รับประโยชน์ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การตรวจประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment)  ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารของส่วนราชการนั้น ๆ  ได้รับทราบว่าส่วนราชการของตนยังมีความบกพร่องในเรื่องใด  จึงสามารถกำหนดวิธีการปละเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงองค์กรให้สมบูรณ์มากขึ้นต่อไป
             ส่วนราชการสามารถนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการการดำเนินการของส่วนราชการ  เพื่อยกระดับการบริหารจัดการส่วนราชการ  เพื่อให้สามารถส่งมอบคุณค่าที่ดีขึ้น     ทั้งผลผลิตและบริการให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ซึ่งนับเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. 2546  ด้วย
             ส่วนราชการที่มีการบริหารจัดการที่เป็นเลิศจะมีภาพลักษณ์ที่ดี  ได้รับความนิยมชมชอบจากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  นอกจากนี้ยังมีโอกาสส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของส่วนราชการอื่น ๆ  โดยการนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จและเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของส่วนราชการ  เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ส่วนราชการอื่น ๆ  นำไปประยุกต์ใช้ให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน 
การประยุกต์ใช้  MBNQA  ในประเทศไทย                 
องค์กรแรกที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ด.ร. ทักษิณ ชินวัตร คือ บริษัท  ไทย อคริลิค  ไฟเบอร์  จำกัด ในปี พ.ศ. 2546  บริษัทกระดาษไทย  จำกัด  ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่านี้เป็นองค์กรที่สอง  ซึ่งในช่วงปี 2004 – ปัจจุบัน  พบว่า มีองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ  ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก และตั้งแต่ปี  2005  ได้เริ่มมีโรงพยาบาลของภาครัฐส่ง Application Report  เพื่อขอรับการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)  หลังจากนั้น ปี 2007  พบว่ามีโรงพยาบาลของภาครัฐแห่งแรกได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class:TQC)  ได้แก่  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  สังกัด    คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นปรากฎการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเกี่ยวกับระบบคุณภาพและกระบวนการพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ  เพื่อเทียบเคียงระดับสากลอันเป็น  พลวัตรที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและก้าวเข้ามาเสริมให้องค์กรด้านบริการสุขภาพเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ  โดยทัดเทียมสากล                                                                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น